เมนู

ธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด 4

ว่าด้วยสังคีติหมวด 5



[278] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 5 อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
ธรรม 5 เป็นไฉน. คือ

ขันธ์ 5


1. รูปขันธ์ กองรูป
2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา
3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา
4. สังขารขันธ์ กองสังขาร
5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ.

[279] อุปาทานขันธ์ 5


1. รูปูปาทานขันธ์ กองยึดถือรูป
2. เวทนูปาทานขันธ์ กองยึดถือเวทนา
3. สัญญูปาทานขันธ์ กองยึดถือสัญญา
4. สังขารูปาทานขันธ์ กองยึดถือสังขาร
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ กองยึดถือวิญญาณ.

[280] กามคุณ 5


1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
2. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.
3. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.
4. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

[281] คติ 5


1. นิรยะ นรก
2. ติรัจฉายโยนิ กำเนิดเดียรฉาน
3. เปตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
4. มนุสสะ มนุษย์
5. เทวะ เทวดา.

[282] มัจฉริยะ 5


1. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
2. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
3. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
4. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
5. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.

[283] นิวรณ์ 5


1. กามฉันทะ ความพอใจ
2. พยาบาท ความพยาบาท